
smartfinn
Matching Platform
ขายฝากอสังหาฯกับนักลงทุน
ติด F ธนาคารทำไงดี?

ติด F ธนาคารทำไงดี?
Fraud List คือ “ การปลอมแปลงเอกสาร ” ประวัติทุจริตต่างๆ ในระบบสถาบันการเงินที่ผู้กู้ขอสินเชื่อ แล้วสถาบันการเงินตรวจสอบแล้ว ไม่เชื่อถือ เป็นข้อมูลที่ดัดแปลง ปลอมแปลง สร้างขึ้นใหม่ ไม่ตรงตามความจริง ที่จะทำให้สถาบันการเงินเกิดความเสียหาย
ปัจจัยที่ทำให้เกิด “ฟรอด” ดังนี้
- เกิดจาก “ตัวเราเอง” ซึ่งสามารถเกิดได้จากเจตนา ที่ได้รับคำแนะนำที่ผิดจากบุคคลอื่น เช่น การปลอมแปลงเอกสารประกอบการขอสินเชื่อ, การออกหนังสือรับรองไม่ตรงตามจริง, หักประกันสังคมไม่ตรงกับรายได้, ข้อมูลการเสียภาษีไม่ตรง และกรณีไม่เจตนา เพราะไม่รู้ เลยยื่นด้วยความสุจริตใจ เช่น ยื่นรายได้ไม่ตรงกัน เนื่องจากมีรายได้หลายช่องทาง
- เกิดจาก “บุคคลอื่น” เช่น ตัวแทนสินเชื่อจากธนาคาร พนักงานขาย ทำการแอบอ้างปลอมแปลงเอกสารเพื่อความรวดเร็ว ไม่เสียเวลา เพื่อให้ได้มาซึ่งเป้า ยอดขาย คอมมิชชั่นตามที่ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียของผู้ขอสินเชื่อ
- เกิดจาก “เจ้าหน้าที่ส่งข้อมูลฟรอดของธนาคาร” เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องขาดความสามารถในการประเมิน วิเคราะห์ การใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาตัดสินข้อมูล ไม่ตรวจสอบประวัติ และข้อมูลอย่างถี่ถ้วนและเป็นมาตรฐานสากล ทำลายอนาคตและโอกาสของผู้ขอสินเชื่อ ทั้งที่มีศักยภาพพร้อมที่จะเป็นลูกค้าที่ดีของธนาคาร
วิธีแก้ไขหากติด Fraud List
- หาสาเหตุให้พบว่าเคยมีพฤติกรรมเช่นดังกล่าว หรือใครดำเนินการเอกสารแทนผู้ขอสินเชื่อโดยไม่รู้ตัว เพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ในการแก้ไขขอลบข้อมูลดังกล่าวจะไม่ได้มีปัญหาในการขอสินเชื่อต่อไป
- กรณีที่ไม่ทราบต้นตอของผู้ดำเนินการแทนผู้ขอสินเชื่อให้ติดต่อธนาคาร ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน เพื่อสอบถามสาเหตุ ขอคำแนะนำปรึกษา หรือติดต่อ สมาคมธนาคารไทย เพื่อหาแนวทางการแก้ไข จากนั้นทำหนังสือร้องเรียน(แนบรับรองสำเนาบัตรประชาชน) ไปยังธนาคารต้นเหตุโดยส่งems ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เพื่อให้ตรวจสอบวันที่รับได้) หากพ้นเกิน 15 วันทำการนับจากวันเซ็นต์รับเอกสารแล้วยังไม่ติดต่อกลับ นิ่ง หรือเพิกเฉย ร้องเรียนที่นี่
กรอก "แบบฟอร์มร้องเรียน" ถึง ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร 1213 ( www.1213.or.th ) ใช้เวลาประมาณ 20 วันทำการ ทาง ศคง. จะส่งเรื่องไปให้ศาลแขวงเพื่อหาข้อสรุป และทางออกให้กับผู้ร้องเรียน กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมถูกปลอมแปลงเอกสาร หรือเกิดจากความผิดพลาดจากการส่งข้อมูล "ฟรอด" ของธนาคาร ทำให้ได้รับความเสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ทั้งทางแพ่ง และอาญา
อย่างไรก็ตามก่อนทำธุรกรรมต่างๆ ควรคำนึงถึงผลที่จะตามมา ดังนั้นควรทำโดยความสุจริต เพราะผลเสียของการติดฟรอดนั้น เสมือนติดคุกทางการเงินตลอดชีวิต ไม่สามารถแก้ไขได้เลยหากไม่สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ ซึ่งต่างจากเครดิตบูโรที่สามารถให้โอกาสในการพัฒนาประวัติทางการเงินให้ดีขึ้นได้
SMARTFINN
ให้บริการ ดอกเบี้ยต่ำ เพียง 0.75% ต่อเดือน
มีทีมผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาการขายฝาก
บริษัทปิดดีลมาแล้วมูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาท และ matching นักลงทุนซื้อฝากใจดี ในระบบทั่วประเทศ
เพื่อให้ผู้ขายฝากได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุด อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย มีมาตรฐานฯ
อนุมัติไว ให้วงเงินสูง ไม่ดู Statement ไม่เช็คเครดิตบูโร
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.smartfinn.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
โทรศัพท์ 02-937-2289 , 094-445-7975 , 089-664-5359
LINE ID: @smartfinn

Smartfinn Team Matching Platform การขายฝากอสังหาฯ กับนักลงทุน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และช่วย SMEs ให้มีสภาพคล่อง
บริษัท สมาร์ทฟินน์ โซลูชั่นส์ จำกัด
555 อาคารรสา อาคาร 2 ชั้น 25 ถนนพหลโยธิน
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
• • • • • •