
smartfinn
Matching Platform
ขายฝากอสังหาฯกับนักลงทุน
6 อาการกลัวตกกระแส หรือ FOMO เช็กสักนิด คุณมีอาการหรือเปล่า?

ทุกวันนี้การตามเทรนด์ที่เข้ามา ดูเหมือนจะเป็นพฤติกรรมปกติในยุคโซเชียลมีเดีย แต่อันที่จริงทางการแพทย์ถือว่าพฤติกรรมนี้มีความผิดปกติ และสามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจ บุคลิกภาพ และสุขภาพร่างกายได้ ซึ่งอาการที่ว่าคืออาการ โฟโม (Fear Of Missing Out : FOMO) นั่นเอง
อาการกลัวตกกระแส : โฟโม (Fear Of Missing Out : FOMO)
อาการ FOMO คือ อาการของคนที่กลัวการตกข่าว กลัวตกเทรนด์ รวมถึงกลัวการไม่เป็นที่ยอมรับ และมีความอยากเป็นคนสำคัญ จึงต้องติดตามข่าวสาร เช็กกระแสต่างๆ เพื่อที่จะแชร์สิ่งที่รู้มาออกไปเป็นคนแรกๆ
คนเป็นโฟโม (FOMO) มีอาการแบบไหน?
นอกจากจะต้องการติดตามข่าวสารสถานการณ์ต่างๆ ตลอดเวลา คนมีอาการโฟโมยังจะมีความเครียดมากกว่าปกติเมื่อตัวเองเกิดพลาดตกข่าวอะไรซักอย่างไป หรือแชร์โพสต์แล้วมีจำนวนคนกดไลค์เพียงน้อยนิด
อาการโฟโม เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และส่วนใหญ่แล้ว คนมีอาการโฟโมมักจะไม่รู้ตัวเอง ส่งผลให้อาการย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เพราะไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
พฤติกรรมที่เข้าข่ายโฟโม (FOMO)
- หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน เมื่อไม่ได้เช็กโทรศัพท์ หรือไม่ได้เข้าโซเชียล
- กลัวที่จะรู้ข่าวช้ากว่าคนอื่น ติดการใช้ Facebook Instagram และ Twitter
- ใช้เวลาอยู่กับสมาร์ทโฟนมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
- อัปเดตและแชร์เรื่องราวของตัวเองบนโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่อง
- รู้สึกแย่เมื่อเห็นเพื่อนๆ ออกไปเที่ยวหรือทำกิจกรรมโดยที่ไม่ได้ไปด้วย
- เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ตลอดเวลา และรู้สึกด้อยค่าเมื่อเห็นคนอื่นได้เที่ยว กินดี หรือได้เช็กอินในสถานที่ฮิต
โฟโม (FOMO) ส่งผลกระทบอะไรบ้าง?
- ส่งผลต่อบุคลิกภาพ กลายเป็นคนที่ก้มดูโทรศัพท์ตลอดเวลา
- รับฟังคนอื่นน้อยลง และเสียโอกาสการพัฒนาตัวเองในด้านอื่นๆ
- ทำให้สภาพร่างกายย่ำแย่ นอนน้อย นอนไม่หลับ สายตาเสียจากแสงสีฟ้า
- ทำให้เป็นโรคหลงตัวเอง จากการได้ยอดไลค์ยอดแชร์จำนวนมาก
- อารมณ์ร้อนง่าย เมื่อมีคนไม่เห็นด้วยหรือโดนตำหนิ และจะรู้สึกโกรธแค้นมากกว่าที่จะคิดทบทวนกับตัวเอง
- อาจส่งผลลุกลามไปถึงการเป็นโรคซึมเศร้า จากการเปรียบเทียบวิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ มักคิดว่าตัวเองไม่ดีพอ เมื่อไม่มีเหมือนคนอื่นเขา
เช็กแล้วว่าเป็นโฟโม (FOMO) แก้ยังไงดี?
เมื่อเช็กอาการแล้วว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน หรือมีอาการโฟโมควรรีบแก้ไข ดังนี้
- ยอมรับว่าตัวเองมีอาการโฟโม เมื่อยอมรับได้ ก็จะเกิดการเปิดใจและยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลองปิดโทรศัพท์ในวันเสาร์-อาทิตย์ แล้วใช้เวลากับงานอดิเรกอื่นๆ
- ออกจากแชทและโซเชียล แล้วไปเที่ยวกับเพื่อน หรือไปทานข้าวกับครอบครัวในโลกความจริง
- ใช้ชีวิตให้ช้าลง หัดมีความสุขกับสิ่งเล็กๆ รอบตัว หรือความสำเร็จเล็กๆ ที่ตัวเองทำได้
- ปรับความคิด ยินดีที่เพื่อนประสบความสำเร็จ หรือมีความสุข แทนที่จะรู้สึกหงุดหงิด
การรักษาอาการโฟโมนั้น ขึ้นอยู่กับการปรับทัศนคติและพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ใครที่เช็กแล้วว่าตัวเองเป็นโฟโม ก็ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนที่ละนิด หรือหากมีคนรอบข้างที่เป็นโฟโม ก็ควรให้กำลังใจ และลองชวนเขาออกไปทำนู่นทำนี่ จะช่วยให้ไม่เครียด และหายจากอาการโฟโมได้
SMARTFINN
ให้บริการ ดอกเบี้ยต่ำ เพียง 0.75% ต่อเดือน
มีทีมผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาการขายฝาก
บริษัทปิดดีลมาแล้วมูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาท และ matching นักลงทุนซื้อฝากใจดี ในระบบทั่วประเทศ
เพื่อให้ผู้ขายฝากได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุด อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย มีมาตรฐานฯ
อนุมัติไว ให้วงเงินสูง ไม่ดู Statement ไม่เช็คเครดิตบูโร
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.smartfinn.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
โทรศัพท์ 02-937-2289 , 094-445-7975 , 089-664-5359
LINE ID: @smartfinn

Smartfinn Team Matching Platform การขายฝากอสังหาฯ กับนักลงทุน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และช่วย SMEs ให้มีสภาพคล่อง
บริษัท สมาร์ทฟินน์ โซลูชั่นส์ จำกัด
555 อาคารรสา อาคาร 2 ชั้น 25 ถนนพหลโยธิน
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
• • • • • •