
smartfinn
Matching Platform
ขายฝากอสังหาฯกับนักลงทุน
เตรียมความพร้อมรับมือ กฎหมาย E-Payment

เตรียมความพร้อม รับมือกฎหมาย E-Payment
ใกล้ถึงสิ้นปี การชำระภาษีถือเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ ที่ต้องชำระภาษีเพื่อนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ วันนี้สมาร์ทฟินน์ขอกล่าวถึง ภาษี E-Payment ที่เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน ที่มีแม่ค้า-พ่อค้าขายของออนไลน์เป็นจำนวนมากในทุกๆ ธุรกิจ
E-Payment คืออะไร
E-Payment มาจากคำว่า Electronic Payment System หมายถึง การจ่ายเงินหรือทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การโอนเงินเข้าบัญชี การตัดเงินจากบัญชี การรูดชำระบัตรเครดิต เป็นต้น
ภาษี E-Payment มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562
ความหมายของ “ภาษี E-Payment” ในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48)
พ.ศ. 2562 หมายถึง “ผู้ที่รับโอนเงินเข้าบัญชี มียอดเงิน หรือจำนวนครั้งที่โอน ถึงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ก็จะถูกส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษี” ซึ่งไม่ได้รวมแค่คนขายของออนไลน์เท่านั้น แต่กล่าวถึงทุกคนที่เข้าเงื่อนไขตามกฎหมาย
โดยสถาบันการเงินจะส่งข้อมูลรายงานธุรกรรมที่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขต่อสรรพากร โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ฝาก หรือโอนเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้ง/ปี นับเฉพาะจำนวนครั้งที่รับโอนเท่านั้น โดยไม่นับมูลค่ามากหรือน้อย
- ฝาก หรือโอนรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง/ปี และมียอดรวมตั้งแต่ 2 ล้านบาท/ปี (ต้องเข้าทั้ง 2 เงื่อนไข) หากเข้าเพียงเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งจะไม่ถูกตรวจสอบ
การนับยอดทำธุรกรรมจะนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ
ข้อมูลส่วนตัวที่ถูกจัดส่งให้กรมสรรพากร มีดังนี้
- เลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ชื่อและนามสกุล
- เลขที่บัญชีเงินฝาก
- จำนวนครั้งของการฝาก/รับโอนเงิน
- ยอดรวมของเงินฝาก/รับโอนเงิน
หากมีการทำธุรกรรมเข้าเงื่อนไข ควรเตรียมรับมืออย่างไร?
- สำหรับผู้ที่มีรายได้หรือร้านค้าที่มีการจดทะเบียนและยื่นเอกสารรายได้ตามปกติ
► ไม่ต้องทำอย่างไร - สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเสียภาษี หรือ จดทะเบียนธุรกิจอย่างถูกต้อง ► ควรจดทะเบียนบริษัท ◄ หรือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ควรจัดเตรียมเอกสารรายรับ-รายจ่าย และเอกสารการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเอาไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมกรณีเจ้าหน้าที่สรรพากรเรียกขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง
จากข้อมูลที่ได้กล่าวไปข้างต้นกฎหมายภาษี E-Payment นี้จะมีผลต่อผู้มีรายได้ที่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งพ่อค้าแม่ค้า ร้านค้าออนไลน์/ออฟไลน์ พนักงานทั่วไป หรือพนักงานฟรีแลนซ์ สรุปให้เข้าใจง่ายก็คือ “เป็นบุคคลใดก็ได้ที่เข้าเกณฑ์รายการที่กำหนด”
ทั้งนี้ใกล้สิ้นปีกันแล้วอย่าลืมวางแผนภาษีเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆกันนะคะ
สำหรับผู้ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องชั่วคราว หรือต้องการลดภาระหนี้ สามารถนำทรัพย์สินมาขายฝากกับสมาร์ทฟินน์ (Smartfinn) ได้ สมาร์ทฟินน์ คือ ช่องทางการขายฝากแบบใหม่สำหรับคนรุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงกับสถาบันการเงิน
SMARTFINN
ให้บริการ ดอกเบี้ยต่ำ เพียง 0.75% ต่อเดือน
มีทีมผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาการขายฝาก
บริษัทปิดดีลมาแล้วมูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาท และ matching นักลงทุนซื้อฝากใจดี ในระบบทั่วประเทศ
เพื่อให้ผู้ขายฝากได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุด อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย มีมาตรฐานฯ
อนุมัติไว ให้วงเงินสูง ไม่ดู Statement ไม่เช็คเครดิตบูโร
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.smartfinn.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
โทรศัพท์ 02-937-2289 , 094-445-7975 , 089-664-5359
LINE ID: @smartfinn

Smartfinn Team Matching Platform การขายฝากอสังหาฯ กับนักลงทุน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และช่วย SMEs ให้มีสภาพคล่อง
บริษัท สมาร์ทฟินน์ โซลูชั่นส์ จำกัด
555 อาคารรสา อาคาร 2 ชั้น 25 ถนนพหลโยธิน
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
• • • • • •